แชร์

LISTEN​ : เปลี่ยนจากพยายามเอาชนะมาเป็นการรับฟัง

อัพเดทล่าสุด: 10 ต.ค. 2023
223 ผู้เข้าชม

LISTEN​ : เปลี่ยนจากพยายามเอาชนะมาเป็นการรับฟัง


ในโลกที่เชิดชูคนเก่งหรือโลกที่มีการแข่งขันสูง เรามักจะต้องเจอเหตุการณ์ 3 อย่าง คือ
1. การต้องเอาชนะ : คนที่ไม่ไขว่คว้าจะต้องเสียโอกาสทางการเรียน หน้าที่การงาน หลายครั้งต้องต่อสู้ฟาดฟันกับคนอื่นๆเพื่อการได้เป็นจอมยุทธ์อันดับหนึ่งหรือเจ้ายุทธภพให้ได้​ ชีวิตอย่างนี้ทั้งเหนื่อยทั้งเครียดเพราะต้องดิ้นรนบนความหวาดกลัวอยู่ตลอดเวลา

2. การบูลลี่ : การเหยียดหยามคนที่ไม่ได้เรื่อง อ่อนแอในบางด้าน หรือกระทั่งคนที่คิดไม่เหมือนเรา คนถูกบูลลี่ก็ทุกข์​ คนที่บูลลี่ก็เป็นยักษ์

3. การหลงตัวเอง : คนที่ได้ชัยชนะในบางครั้งหรือบ่อยครั้ง ก็อาจเคลิ้มไปว่าเราเหนือกว่าคนอื่นๆ ไม่มีใครยอดเยี่ยมกว่าเรา พอรู้ตัวอีกทีก็ไม่มีใครยอมอยู่ใกล้เสียแล้วเพราะไม่สนไม่แคร์คนรอบข้างมานาน​ ทำเรื่องแย่ๆออกไปโดยไม่รู้ตัวมากมาย

กลับมาตั้งคำถามกับมันว่าสิ่งที่ดำเนินอยู่นี้มัน "ดี" และ "จำเป็น" ต่อการพัฒนาจริงหรือ?...ผมคิดว่าไม่
3 สิ่งนี้ปรากฏเกิดขึ้นจนเป็น norm หรือ ปกติ ของโลกไปเสียแล้ว และมันก็ได้ทำลายสิ่งที่เรียกว่า "ความเห็นอกเห็นใจ" ให้อันตรธานไป

ความเห็นอกเห็นใจ เป็นสิ่งจำเป็นต่อสังคมมนุษย์และสังคมโลก (ที่ประกอบไปด้วยธรรมชาติทั้งมวล ทั้งคนสัตว์และพืช) ที่ช่วยประคับประคองให้เรามีชีวิตร่วมกันอย่างผาสุก ไม่เบียดเบียนกัน หรือหากจะต้องเบียดเบียนก็ไม่รุนแรงเลวร้ายจนเกินไป

เมื่อคนไม่เห็นอกเห็นใจกัน...เราก็อ้างว้างไม่เหลือใคร

ทุกคนต่างอยู่บนเกาะแก่งส่วนตัว ...เกาะแก่งที่มีกำแพงล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง​เสียด้วยซ้ำ​ อย่างนี้จะไม่เหงาได้อย่างไร?

หากต้องการบ้านที่อบอุ่น กิจการงานที่มั่นคง สังคมที่ปลอดภัย เราอาจต้องตั้งคำถามกับวิถีที่กำลังเป็นไปให้มากกว่านี้
ถามว่า "การยกย่อง เชิดชูคนเก่งนั้นถูกต้องแล้วหรือ?"

"การแข่งขันคือการพัฒนาแท้จริงหรือไม่?"

"เราพัฒนาตนเองเพื่อทำประโยชน์ให้สังคมแทนการทำเพื่อตัวเองได้ไหม?"

และจะดีกว่านี้ไหมหากเรา "ให้ความเห็นอกเห็นใจ" ต่อคนที่ประสบปัญหา?...ซึ่งหากจะมองให้ดี ทุกคนที่เรารู้จักต่างก็มีปัญหาอะไรบางอย่างไม่มากก็น้อย

เปลี่ยน "สนามแข่งขัน" ให้เป็น "สนามรับฟัง"
เชิดชูคนดี แทนคนเก่ง

ตั้งใจทำประโยชน์มากกว่าพยายามทำกำไร
...ทุกคนจะไปต่อได้
----

ในโลกธุรกิจก็เช่นกัน
เรามัวแข่งขันกันในเรื่องเดิมๆโดยลืมรับฟังเสียงของลูกค้า​ไปหรือไม่?

และเรายังฟังเสียงหัวใจของตัวเองอยู่มั้ย?

Tags :

บทความที่เกี่ยวข้อง
Rumปัง ไม่ใช่ Rumbarrel
หลายคนอาจจะคุ้นกับชื่อเทคนิค Rumbarrel age ที่เขาเอาสารกาแฟ (green bean)
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy