share

LTLH ทางออกของกาแฟไทย (4) การลงมือทำเผยแพร่ได้เร็วกว่าคำพูด

Last updated: 14 Oct 2023
118 Views
LTLH ทางออกของกาแฟไทย (4)  การลงมือทำเผยแพร่ได้เร็วกว่าคำพูด

LTLH ทางออกของกาแฟไทย (4)

การลงมือทำเผยแพร่ได้เร็วกว่าคำพูด

เมื่ออยากพิสูจน์ว่า LTLH จะเป็นทางออกของกาแฟไทยได้จริงไหม? มีแต่ต้องทดลองทำด้วยตัวเองก่อนเท่านั้น

การทดสอบห้องควบคุมความชื้นที่เพิ่งประกอบตู้คอนโทรลและต่อเชื่อมเข้ากับอุปกรณ์หลัก คือเครื่องปรับอากาศ และ Heater

เราจัดกาแฟทั้งแบบ กะลาเปียก เชอร์รี่ และแบบฮันนี่ ลงในตะกร้าพลาสติกตาห่างเพื่อให้ลมสามารถพัดผ่านได้สะดวกทั้งด้านบนและล่าง ตะกร้านี้จะวางซ้อนกันอยู่บนชั้นวางสินค้าที่มีพื้นเป็นตะแกรงเพื่อให้สะดวกแก่การไหลของลมมากที่สุด

เปิดพัดลม 2 ตัวเพื่อให้มีลมไหลเวียนในห้องตลอดเวลา โดยทำใช้เครื่องวัดความเร็วลม (Anemometer) ช่วยทำแผนที่ความเร็วลมที่พัดผ่านตะกร้าแต่ละจุดว่าเหมาะสมหรือไม่อย่างไร?

โดยมีเกณฑ์ความเร็วลมเบื้องต้นว่าควรอยู่ที่ระหว่าง 1-2 m/s

ตลอดเวลาที่กาแฟอยู่บนชั้นตาก...จะมีการชั่งน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงไปทุกชั่วโมงในวันแรก และทุก 2-3 ชั่วโมงในวันถัดๆไป เพื่อตรวจสอบความชื้นที่ลดลงว่าเป็นไปในอัตราที่เร็วหรือช้าเพียงใด ซึ่งผมก็ต้องคอยวิเคราะห์ข้อมูลที่เกิดขึ้นเพื่อประเมินและตัดสินใจปรับเปลี่ยนสภาวะการควบคุมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ประเด็นที่ต้อง concern มี 3 ประเด็นใหญ่

1. ความชื้นของกาแฟลดลงอย่างต่อเนื่องและเหมาะสมไหม?

2. แอร์หรือฮีตเตอร์ มีกำลังมากพอในการทำงาน Drying กาแฟมากหรือน้อยแค่ไหน?

3. เครื่องจักร 2 ตัว ทำงานประสานกันเหมาะสมโดยที่ไม่สิ้นเปลืองไฟฟ้ามากจนเกินไป หรือเครื่องไม่ทำงานหนักเกินจนถึงขั้นที่อาจจะพังได้

ซึ่งทั้ง 3 ข้อ นี้ต้องอาศัยการสังเกตระหว่างการ Drying ตลอดเวลาและคอยปรับจูนไปหลายๆแบบ เพราะนี่เป็นงานใหม่ที่ยังไม่เคยทำกันมาก่อน

การหมั่นคอยตรวจสอบน้ำหนัก อุณหภูมิห้อง และความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ ให้บ่อยครั้งที่สุดจึงเป็นหัวใจของการทำ Preliminary Lab ครั้งนี้

----

เดี๋ยวมาเขียนต่อครับ

#LTLH #PredaRoastingHouse

บทความที่เกี่ยวข้อง
มาตรฐานเทคนิคงานตาก LTLH ของปรีดา Ep.2
ก่อนหน้านี้เราได้พูดถึงมาตรฐานเทคนิคงานตาก LTLH ของปรีดา Ep.1 ในตอน"กลไกการตากแห้ง" ตอนนี้จะมาต่อในตอน"เทคนิคงานตาก"
The basic concept of LTLH Coffee Drying
The Basic Concept of LTLH รวบรวมความรู้พื้นฐานของการทำ LTLH Drying พร้อมภาพประกอบฉบับเข้าใจง่าย เขียนโดย Arkhom Suvannakita | ROASTMASTER, Preda Roasting House
ทำความรู้จักกระบวนการหมักและตากกาแฟแบบ LTLH Drying
Yeast x Dry Process LTLH คือ การนำยีสต์ที่คัดเลือกสายพันธุ์ (Strain) มาใช้หมักผลกาแฟทั้งผลเชอรี่ในถังหมักที่สะอาด ภายใต้อุณภูมิที่ควบคุม
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy