แชร์

heat flux

อัพเดทล่าสุด: 5 ต.ค. 2023
1045 ผู้เข้าชม
heat flux

heat flux

ทำความเข้าใจเรื่อง​ heat flux เพื่อนๆอาจจะไม่เห็นการพูดเรื่องกระแสความร้อนในตำราการคั่วทั่วไป​ แต่ผมคิดว่าการใช้​ heat flux มาช่วยอธิบายกลไก​ heat transfer นั้นจะทำให้นักคั่วเห็นภาพและเข้าใจกลไกการถ่ายเทความร้อนได้ง่าย​ จึงเขียนเอาไว้ในตำราเรียนของปรีดา​ ​(กระแสความร้อนเป็นคำปกติที่ใช้กันในวิชา​ thermodynamics และ​ heat transfer)


ในการคั่วกาแฟ... กระแสความร้อน​( heat flux)​ เป็นผลลัพธ์ของ​ temperature gradient หารด้วย​ ความต้านทานความร้อน​


กรณี​ heat convection, : Temperature gradient ก็คือ​ผลต่างระหว่างอุณหภูมิของเมล็ดกาแฟและอากาศ​ ซึ่ง​ gradient (หรือ​ delta T)​นี้ถือเป็นแรงขับ​(drive)​ ในขณะที่​มีแรงต้านพยายามขัดขวางการไหลของกระแสที่เรียกว่า​ ความต้านทานความร้อน​ (heat resistance) ซึ่งขึ้นกับตัวแปรหลายตัว​เช่น​ พื้นที่ผิวและรูปทรงของเมล็ด, ​ ลักษณะการไหลและความเร็วของลม​, คุณสมบัติความหนาแน่นของเนื้อกาแฟ​ ถ้าขณะนั้นสารกาแฟเนื้อแน่นมาก​ก็มี คตท.มาก​ (hard bean/soft bean) หรือตอนท้ายๆของการคั่วเมล็ดเกิดโพรงจนมีความหนาแน่นลดลง​ คตท.​ก็จะลดลงด้วย


ในกราฟ​ Roast​ profile ทั่วไปจะเห็นว่า​ ET​กับ​BT ช่วงแรกๆจะห่างกันมาก​ ก็คือค่า​ delta T​ มาก​ กระแส​ heat flux มากตาม​ แต่พอท้ายๆของการคั่ว​ heat flux จะลดลง​โดยดูจาก​ delta T.ที่น้อยลง


การควบคุม​การเพิ่มขึ้นของ​ BT.​หรือการควบคุม​ ROR​ ก็ทำได้โดยการควบคุม​เจ้า​ heat flux นี่แหละ


ในช่วงที่กาแฟเกิดปฏิกริยาเคมีแบบคายความร้อน​ (exothermic reaction)กาแฟจะสามารถเพิ่มอุณหภูมิขึ้นได้จากภายในเมล็ดเอง หากนักคั่วต้องการคุมไม่ให้กาแฟร้อนขึ้นเร็วเกินไปก็อาจทำได้โดยการลดความร้อนแรงของอากาศภายในถัง​drum


บางที​ ET​ ถึงกับต่ำกว่า​ BT​ ก็มีให้เห็นกัน​ แต่ก็ต้องระมัดระวังไม่ให้​ ET​ต่ำมากเสียจนฉุดดึงอุณหภูมิเมล็ดลดต่ำลง​ กลายเป็นทำให้การเกิด​ reaction กลับทิศทาง​ (กาแฟก็​ bake)


ทั้งนี้เพื่อกำหนดแรงส่งทางความร้อนหรือ​ heat momentum ที่เหมาะสมนั่นเองครับ

 

ผู้เขียน....อาคม สุวัณณกีฏะ

บทความที่เกี่ยวข้อง
สัญญาณบอกเหตุไฟไหม้ในเครื่องคั่วกาแฟ
#SignsOfFireRisk วันนี้เอาประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟังครับเพื่อนๆน้องๆนักคั่วกาแฟคงจะเคยมีประสบการ "เฉียด" กันมาบ้างไม่มากก็น้อย เรื่องฟืนไฟนี่เป็นของคู่กันกับงานคั่วครับ ซึ่งความเสียหายอาจเกิดมากได้เลยถ้าเราไม่สามารถจัดการกับปัญหาได้ทันการณ์
การพัฒนาโปรไฟล์คั่ว Roasting Profile Modulating
เมื่อชิมกาแฟที่เพิ่งคั่วไป เราจะบอกได้อย่างไรว่ารสชาตินี้คือที่สุดแล้วสำหรับเมล็ดตัวนี้? หรืออาจจะดีกว่านี้ได้หากปรับปรุงโปรไฟล์ให้เหมาะสมขึ้น?
Development Temp. , Development time และ ROR ความสัมพันธ์ที่ขาดกันไม่ได้
เราควรใช้ Dev. Temp เท่าไหร่ดีนะ? แล้ว Dev.time ล่ะจำเป็นต้องยาวนานแค่ไหน? ทำไมใครๆเขาก็บอกว่าให้ใช้แค่นาทีเดียวอย่าเกินนั้น...ถ้าเกินแล้วจะเป็นยังไง?
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy