share

วิทยาศาสตร์เบื้องหลังของการชงกาแฟ

Last updated: 23 Aug 2024
46 Views
วิทยาศาสตร์เบื้องหลังของการชงกาแฟ


เค้าใช้หลักการวิทย์อะไรบ้างนะ? CoffeeBrewing #Science
วิทยาศาสตร์เบื้องหลังของการชงกาแฟ
พี่กี้พี่ปุ๊กชวนมาดูฟิสิกส์และเคมีที่เกี่ยวข้องในการชงกาแฟกันนะครับ


-----
Espresso

มีเรื่องน่าสนใจอยู่ 3 เรื่องได้แก่
1. ใน Boiler น้ำร้อน 105-130 C แต่ไม่เดือด
ไม่ใช่แค่การต้มน้ำให้เดือด 100 C เท่านั้น แต่เขาต้องการให้น้ำร้อนมากกว่า 100 C โดยที่น้ำก็ยังไม่เดือด!?


"อาศัยหลักการที่ว่า เมื่อของเหลวอยู่ภายใต้สภาวะความดันที่สูงขึ้น จุดเดือดของๆ เหลวก็จะขยับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย"


ดังนั้นเมื่อเริ่มเดือดที่ 100 C กลายเป็นไอน้ำเดือดไปบางส่วน ก็จะเกิดแรงดันสะสมขึ้นในหม้อต้มน้ำ (boiler) น้ำส่วนที่ยังไม่เดือดก็จะเดือดยากขึ้น คือยังคงสถานะเป็นของเหลวอยู่อย่างนั้น สถานะของน้ำใน boiler ของเครื่องชงกาแฟเอสเปรสโซ่เราเรียกว่า "ของผสม" คือมีทั้งไอน้ำเดือด (steam vapor) หรือน้ำที่อยู่ในสถานะแก๊สที่ร้อนกว่า 100 C อยู่ร่วมกันกับน้ำในสถานะของเหลว (Saturated liquid) เราดึงเอาไอน้ำไปใช้ steam นม


ส่วนน้ำที่เป็นของเหลวก็ใช้ช่วยทำความร้อนให้แก่น้ำชงกาแฟที่จะไหลอยู่ในท่อที่วางเอาไว้ในหม้อต้ม พอน้ำในท่อวิ่งไปจนถึงหัวกรุ๊ปก็จะได้อุณหภูมิที่พอเหมาะพอเจาะกับการชงกาแฟคือ 92-96 C ครับ



2. EXTRACTION UNDER PRESSURE
อันนี้เป็นเรื่องของเคมีละ
น้ำร้อนที่มาถึงหัวกรุ๊ปชงจะทำหน้าที่เป็นตัวทำละลาย (solvent) ช่วยดึงสารประกอบที่ให้รสชาติต่างๆในผงกาแฟออกมามากมาย ไม่ว่าจะเป็น กรด ไขมัน น้ำตาลคาราเมล หรือน้ำมันหอมระเหย ที่นี้การที่มี basket รูเล็กๆและผงกาแฟก็ถูกแทมป์อัดแน่นอยู่ในนั้น ก็จะทำให้เกิดการหน่วงการไหลผ่านของน้ำร้อนเอาไว้ เกิดเป็นแรงดันขึ้นในระหว่างการสกัด เรียกว่า back pressure ดังนั้นการสกัดกาแฟเอสเปรสโซ่ จึงเป็นการสกัดภายใต้แรงดัน (extraction under pressure)
ระดับแรงดันสกัดกาแฟของเครื่องเอสเปรสโซ่ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 8-9 Bar หรือ 8-9 แรงดันบรรยากาศ เพราะถือว่าให้การดึงรสชาติออกมาได้มากแต่ก็สมดุลที่สุด



3. CREMA
แรงดันสูงทำให้เกิดการผสมของน้ำมันและแก๊สที่ละลายในกาแฟ เมื่อกาแฟถูกสกัดออกมาแล้วความดันลดลง ทำให้ฟองแก๊สและน้ำมันรวมตัวกันเป็นครีม่าสีน้ำตาลทองบนผิวกาแฟ ซึ่งให้รสสัมผัสที่นุ่มนวลระหว่างดื่ม


กาแฟเก่าไม่มี crema ก็เพราะไม่มีแก๊สเหลือแล้ว
กาแฟใหม่เกินไป ครีม่าจะฟูมาก ก็เพราะว่ายังมีแก๊สมากเกินไปหน่อย
พี่กี้ชอบที่คายแก๊สไปประมาณนึงสัก 4-5 วันหลังคั่วไปแล้วครับ


----
DRIP
1. การไหลผ่านของน้ำผ่านตัวกรอง (Percolation) คือ การให้น้ำไหลผ่านผงกาแฟโดยใช้แรงโน้มถ่วงและกรองผ่านตัวกรองด้านล่าง (กระดาษกรอง)
ความเร็วของการไหลของน้ำขึ้นกับหลายปัจจัย ได้แก่ ขนาดของผงกาแฟ ความหนาของชั้นผงกาแฟ แรงดันที่เกิดจากน้ำหนักของน้ำด้านบน



2. EXTRACTION
เป็นกระบวนการที่น้ำทำหน้าที่เป็นตัวทำละลายดึงสารประกอบให้รสชาติต่างๆออกมาจากผงกาแฟ การสกัดที่สมดุลช่วยดึงรสชาติและกลิ่นออกมาได้โดยไม่มีความขมหรือความเปรี้ยวที่มากจนเกินไป


ปัจจัยสำคัญในการสกัด ได้แก่ อุณหภูมิของน้ำ เวลาในการสกัด ความละเอียดของผงกาแฟ การไหลของน้ำผ่านผงกาแฟ


3. WATER DISTRIBUTION การกระจายตัวของน้ำ
การกระจายน้ำที่สม่ำเสมอช่วยให้ผงกาแฟสัมผัสน้ำได้ทั่วถึง ทำให้การสกัดรสชาติเกิดอย่างสมดุล
พอได้ guideline วิทย์เบื้องต้นอย่างนี้แล้ว รู้สึกว่ากาแฟเป็นเรื่องสนุกน่าเรียนรู้มากขึ้นมั้ย?


ใครอยากให้เขียนถึงวิธีชงแบบอื่นอีกบ้างก็บอกมาได้จ้า

บทความที่เกี่ยวข้อง
Strawberry Field Decoding (2)
ถอดรหัสกลิ่นสตรอเบอรี่ที่เกิดจาก Fermentation ของ StrawberryField (ตอนที่2) ผู้เขียน อาคม สุวัณณกีฏะ  14 สิงหาคม 2565
Strawberry Field Decoding (1)
ถอดรหัสกลิ่นสตรอเบอรี่ที่เกิดจาก Fermentation ของ StrawberryField (ตอนที่ 1) ผู้เขียน....อาคม สุวัณณกีฏะ  10 สิงหาคม 2565
ค้นหาจุดลงตัวที่สุดระหว่างกลิ่นรสและคุณประโยชน์ต่อสุขภาพของกาแฟ Specialty (ตอนที่ 2)
มันมีอยู่จริงใช่ไหม? #ค้นหาจุดลงตัวที่สุดระหว่างกลิ่นรสและคุณประโยชน์ต่อสุขภาพของกาแฟSpecialty (ตอนที่ 2)
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy