share

LTLH ทางออกของกาแฟไทย (6) เราต้องเอาน้ำออกจากกาแฟของเราไปกี่กิโล?

Last updated: 14 Oct 2023
161 Views
LTLH ทางออกของกาแฟไทย (6)  เราต้องเอาน้ำออกจากกาแฟของเราไปกี่กิโล?

LTLH ทางออกของกาแฟไทย (6)

เราต้องเอาน้ำออกจากกาแฟของเราไปกี่กิโล?

การวางแผนตากกาแฟในห้องควบคุมความชื้น LTLH นั้นเริ่มต้นจากต้องรู้ว่าเครื่องลดความชื้นของเราสามารถดึงน้ำออกจากห้องได้ในอัตรากี่ลิตร / ชม. ซึ่งมักจะสัมพันธ์กับกำลังวัตต์ของเครื่องแอร์หรือเครื่องลดความชื้นที่เรามี

วันแรกของการตากจะเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ต้องเร่งทำให้ความชื้นแฉะโดยรอบเมล็ดหมดไปโดยเร็วที่สุด หากเราสามารถลดความชื้นได้ถึง 12-15% ใน 24 ชั่วโมงแรกก็จะดีมาก เพราะความเสี่ยงที่แบคทีเรียจะเจริญจนสร้างความเสียหายโดยรอบเมล็ดก็จะลดลงตามไปด้วย

**ปริมาณน้ำที่ต้องออกใน 24 ชม.แรก จึงกำหนดกำลังของเครื่องลดความชื้น **

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเครื่องแอร์ของเรามีกำลังดึงน้ำออกได้เท่าไหร่?

1. หากเราใช้เครื่องลดความชื้น...ก็สามารถดูจากสเปคเครื่องลดความชื้นได้เลย ซึ่งเขาจะบอกเป็นปริมาณน้ำ (ลิตร/วัน)

2. ทดสอบจากการวัดน้ำที่ออกมาจากท่อน้ำแอร์โดยตรง ...เราทำเองได้ง่ายๆโดยตวงน้ำที่เครื่องปรับอากาศกลั่นและทิ้งออกทางท่อน้ำนอกห้องพร้อมกับจับเวลาไปด้วย หากปริมาณน้ำที่ออกมามีอัตรา 1ลิตร/ชั่วโมง ก็แปลว่าแอร์ของเราดึงน้ำออกจากห้องได้ในอัตรา 24 ลิตร/วัน (หรือ 24 ก.ก. ต่อวัน)

สมมติว่าเราวัดได้ในปริมาณที่ผมยกตัวอย่างมานี้ หากคิดให้น้ำ 24 ลิตรหรือ 24 ก.ก.เป็น 12% ของน้ำหนักกาแฟเริ่มต้นทั้งหมด ก็จะคำนวณเป็นปริมาณน้ำหนักกาแฟเริ่มต้นที่เหมาะกับขนาดเครื่องแอร์ได้

น้ำหนักกาแฟเริ่มตาก = น้ำหนักน้ำที่เครื่องดึงออกได้ / 0.12

= 24 / 0.12

= 200 ก.ก.

เมื่อผ่านช่วง 1-2 วันแรกไปแล้ว...อัตราการระเหยของน้ำออกจากกาแฟของเราจะลดลง เครื่องปรับอากาศหรือเครื่องลดความชื้นของเราก็จะมีภาระลดลงโดยอัตโนมัติ ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องกำลังเครื่องอีกต่อไปครับ

----

ผมวัดการใช้ไฟฟ้าของห้อง LTLH ที่มีแอร์ 12,000 BTU หนึ่งตัว , Heater 2000W หนึ่งตัว และพัดลมอีก 2 ตัวทำงานไปด้วยกันตามจังหวะควบคุมของ controller

ห้องของผมใช้ไฟฟ้าในอัตรา 1.5 หน่วย/ ชั่วโมง หรือ 36 หน่วย/ วัน หากคิดเป็นเงินก็ประมาณ 4บ. x 36 = 144 บ./ วัน

มีคนถามว่าเราจะเสียต้นทุนค่าพลังงานไฟฟ้ามากจนเกินไปไหม? ผมขออธิบายอย่างนี้นะครับว่า

1. หากมองห้อง LTLH เป็นห้องหลบภัยสำหรับงานตากกาแฟ...ในสภาพอากาศที่มีความเสียง การที่ยังคงมีผลผลิตอยู่ในมือโดยไม่สูญเสียกาแฟที่ประคบประหงมมานับปี มีความหมายกว่าค่าไฟที่จ่ายไป 1 อาทิตย์มาก

2. เราประหยัดค่าแรงคนงานที่ต้องจ้างมาคอยเฝ้าหน้างานตากมาคอยพลิกกาแฟ หรือขนกาแฟเข้าร่มหรือออกแดดไปได้เลย

3. เราควบคุมคุณภาพการตากได้แม่นยำกว่า

4. สำหรับคนที่คิดจะทำกาแฟแบบ micro lot ...การตากกาแฟได้เอง เป็นการประหยัดเวลา และควบคุมcost ที่ดี
มากกว่าการจ้างคนงานมาคอยตากกาแฟให้เรา

5. เมื่ออากาศดี ท้องฟ้าแจ่มใส เราจะพากาแฟของเราออกจากห้องไปตากข้างนอกก็ได้ครับ...เราบริหารจัดการได้ตามความสะดวก

ยังมีประเด็นทดสอบคุณภาพที่ยังค้างอยู่ครับ ขอผลัดไปก่อน

#LTLH #PredaRoastingHouse #ThaiSpecialtyCoffee#CoffeeDrying

บทความที่เกี่ยวข้อง
มาตรฐานเทคนิคงานตาก LTLH ของปรีดา Ep.2
ก่อนหน้านี้เราได้พูดถึงมาตรฐานเทคนิคงานตาก LTLH ของปรีดา Ep.1 ในตอน"กลไกการตากแห้ง" ตอนนี้จะมาต่อในตอน"เทคนิคงานตาก"
The basic concept of LTLH Coffee Drying
The Basic Concept of LTLH รวบรวมความรู้พื้นฐานของการทำ LTLH Drying พร้อมภาพประกอบฉบับเข้าใจง่าย เขียนโดย Arkhom Suvannakita | ROASTMASTER, Preda Roasting House
ทำความรู้จักกระบวนการหมักและตากกาแฟแบบ LTLH Drying
Yeast x Dry Process LTLH คือ การนำยีสต์ที่คัดเลือกสายพันธุ์ (Strain) มาใช้หมักผลกาแฟทั้งผลเชอรี่ในถังหมักที่สะอาด ภายใต้อุณภูมิที่ควบคุม
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy