เราจะสร้างตัวตนในโลกกาแฟได้อย่างไร?แล้วผมจะขายอะไรดี? มีคนขายเต็มไปหมดอยู่แล้ว...นี่คือ Red Ocean ใช่ไหมครับ?
ผมจะขายกาแฟอะไรดี? นึกจะขายกาแฟตัวไหนก็มีคนเขาขายอยู่แล้วเต็มไปหมด การเริ่มต้นของคนหน้าใหม่นั้นเหมือนจะง่ายแต่ไปข้างหน้ายากจริงๆ ผมว่าตลาดมันเป็น Red Ocean มากๆจนนึกไม่ออกเลยว่าจะไปทางไหนต่อดี
เขียนไปเขียนมาชักติดลมครับ คราวนี้มีคำถามเกี่ยวกับเรื่องการหาความรู้ด้านกาแฟด้วย ต้องบอกอีกครั้งนะว่าอันนี้เป็นความเห็นของผมที่แลกเปลี่ยนกับพี่น้องที่มาสนทนาด้วยเท่านั้น อาจมีผู้เชี่ยวชาญบางท่านไม่เห็นด้วยก็ได้ ยังไงก็ขออภัยไว้ก่อนและได้โปรดอย่าถือสาหาความกัน
Q : ทำยังไงกิจการถึงจะอายุยืนและเติบโตได้เรื่อยๆ A: แบรนด์ที่ดีไม่ทำงานเพื่อเงิน เขาจะมีเป้าหมายในการดำเนินไปที่ชัดเจน
ภารกิจ OASIS (1) ร้านกาแฟที่ทุกคนมีความสุข สำหรับผม ร้านกาแฟก็คือผลงานศิลปะชิ้นหนึ่งที่เราเป็นผู้สร้างขึ้น มันทำหน้าที่ถ่ายทอดมุมมอง ความคิดความรู้สึกของเรา รวมไปจนถึงข้อความบางอย่างที่อยากส่งต่อให้ผู้คน…จนในที่สุดจึงเกิดเป็นความรู้สึกบางประการขึ้นในใจของผู้ที่ได้สัมผัสร้านของเราจะดีที่สุดถ้าหากมันเกิดเป็น “ความสุข”
“กาแฟไทยจะสามารถสู้มาตรฐาน กาแฟระดับโลกได้มั้ย?” ลูกค้าคนหนึ่งเคยถามผม “ได้ครับ แต่อาจจะต้องรออีกสักระยะ เรายังต้องพัฒนากันอีกหน่อย?” ผมตอบ “ปัญหามันอยู่ที่ตรงไหน? สายพันธุ์ หรือดิน น้ำ อากาศ?” “ทั้งระบบการผลิตครับ …ตลาด ผู้ปลูก ผู้แปรรูป นักคั่ว และผู้จัดจำหน่าย ทั้งหมดจะเป็นคนช่วยควบคุมคุณภาพกาแฟร่วมกัน “ “แล้วควรเริ่มจากจุดไหน?” “สร้างแรงขับเคลื่อนด้วยกลไกตลาด และกำหนดทิศทางด้วย Perception ที่ถูกต้องเกี่ยวกับคุณภาพ”
ในฐานะวิศวกร ผมคิดว่าอุปกรณ์วัดคุณภาพกาแฟที่ดีที่สุดก็คือ ปากและจมูก ของมนุษย์เรานี่แหละ!? เพราะว่ากาแฟคือของกิน ซึ่งผู้คนรับรู้รสชาติหรือความดีงามของมันจากการดื่มเข้าไป ดังนั้นหากจะตัดสินว่ามันเป็นของดีมีคุณภาพหรือไม่ก็ควรต้องให้คนนั่นแหละเป็นผู้ตัดสิน
Always trust your gut, it knows what your head has’t figured out yet (Anonymous)
เมื่อ "มอง" เห็นปัญหาจึงรู้ว่ามันเป็นปัญหา Cupping หรือการชิมกาแฟเป็นหลักสูตร ยอดนิยมหลักสูตรหนึ่งของแวด วงกาแฟในโลกปัจจุบัน ซึ่งต้องยอมรับว่าการจัด Cupping ช่วยเพิ่มประสบการณ์ให้กับ barista และ Roaster ในการทำความเข้าใจต่อสิ่งที ่เรียกว่า "กาแฟ" ยิ่งไปกว่านั้น สำหรับนักดื่มตัวยงทั้งหลาย ...นี่คือประตูแห่งเวทย์มนต ์ที่จะพาให้เราท่านเดินผ่าน เข้าสู่พงไพรแห่งเสน่หา...ผืนป่าที่ไม่มีวันพบทางออก!
"คุณคิดว่าคุณมีส่วนช่วยสนั บสนุน Specialty Coffee ในเมืองไทยหรือไม่?" คุณตู๋เอสเปรสโซแมนถามผมในก ารสัมภาษณ์ครั้งหนึ่ง "ถ้าหากนิยามง่ายๆว่าคือ 'กาแฟคุณภาพดี' ละก็ ผมก็คิดว่าผมมีส่วนครับ เพียงแต่ผมเชื่อว่า เราสามารถทำกาแฟดีได้โดยไม่ จำเป็นต้องแพงเสียจนลูกค้าไ ม่สามารถทานมันได้ทุกวัน คือมันควรเป็น Specialty ที่จับต้องได้" ผมตอบ
"การศึกษามิใช่เรื่องของการ เติมน้ำใส่ถัง หากแต่เป็นเรื่องของการจุดไ ฟ." -วิลเลียม บัตเลอร์ เยตส์ (กวีชาวไอริช)
ารนั่งคิดฝันกับการลงมือทำนั้นแตกต่างกันมาก! เรามักจะฝันเห็นความสำเร็จกันอยู่บ่อยๆ แต่เมื่อลงมือทำ...ทุกขั้นตอนทุกรายละเอียดคือเดิมพันที่ไม่สามารถมองข้ามได้เลย ทั้งกว่าจะก้าวผ่านไปถึงฝั่งฝันก็ต้องพึ่งพาทั้งแรงกาย แรงปัญญา และแรงใจมากกว่าที่คิด แต่อย่างไรก็ดี...ย่อมมีรางวัลให้สำหรับความทุ่มเทเสมอ!
“ในยุคต่อไปนี้ ไร่กาแฟเล็กๆ โรงคั่วเล็กๆ จะมีโอกาสเข้าถึงคนกินและร้ านกาแฟมากขึ้น เราจะเห็นตลาดกลางซื้อขายปล ีกทั้งแบบเมล็ดคั่ว และแบบสารกาแฟเกิดขึ้นในอิน เทอร์เน็ต โอกาสของคนตัวเล็กอย่างเราจ ะเปิดกว้างมากขึ้นโดยไม่ต้อ งรอพ่อค้าคนกลางอีกต่อไป…ซึ ่งเราก็ต้องถามตัวเองว่าพร้ อมจะขายปลีกแบบถุงกิโลสองกิ โลหรือยัง? งานขายทั้งแบบล็อตใหญ่ๆและแ บบรายย่อยอาจจะต้องเดินไปพร ้อมๆกันเพื่อความเข้มแข็งของกิจการในระยะ ยาว” ผมพูด
ธุรกิจคืออะไร? ผมตั้งคำถามนี้กับพี่น้องเก ษตรกรแม่ฮ่องสอนกลางวงสัมมน ากาแฟเมื่อกลางเดือนก่อน ถึงแม้ว่าอย่างตัวผมจะไม่สา มารถเรียกตัวเองได้ว่า ‘นักธุรกิจ’ เพราะไม่ได้ทั้งมาด ไม่ได้ทั้งความสามารถ แต่ยังไงก็ต้องยอมรับว่าการ ทำมาหากินที่ดำเนินอยู่ทุกว ันนี้ ผู้คนเรียกมันว่า ‘ธุรกิจ’ ดังนั้นในเมื่อต้องทำธุรกิจ ทั้งๆที่ไม่ได้เป็นนักธุรกิ จ ก็เป็นเรื่องควรอยู่ที่เราจ ะลองนั่งลง ทำใจนิ่งๆ แล้วตอบคำถามถึงสิ่งที่กำลั งทำอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันว่า ที่จริงแล้วเรากำลังทำอะไรก ันอยู่?
โก๋ครบโหล (1) ปีที่หนึ่ง..หัดชง ตอนเริ่มตั้งร้านกาแฟไม่คิดว่าจะยากขนาดนี้!
โก๋ครบโหล (2) ปีที่สอง รักระหว่างรบ การตัดสินใจที่ดีที่สุดในชีวิตของผม...ก็คือการขอแต่งงานกับผู้หญิงคนนี้! เมื่อผ่านปีที่หนึ่ง ยอดขายของเรามีพัฒนาการดีขึ้นเล็กน้อยโดยปรับขึ้นเป็นประมาณพันกว่าบาท วันไหนขายดีก็ทำยอดได้ถึง 2,000 พอจ่ายเงินเดือนพนักงานทั้ง 3 คน แต่ก็ยังไม่พอสำหรับการจ่ายค่าแรงให้ผู้จัดการอย่างผม หากเราจ่ายเงินเดือนผู้จัดการ กระแสการเงินจะต้องติดลบทันที ที่จริงยอดขายระดับนี้จ้างพนักงานเพียงแค่ 2 คนก็น่าจะพอ แต่เหตุที่เราต้องจ้างพนักงานถึง 3 คนก็เพราะความคาดหวังในการทำตลาดจากงาน Delivery และการหาโอกาสเปิดตัวตามงานแฟร์ในจังหวัด ซึ่งก็ไม่ค่อยจะได้ผลเท่าไหร่
โก๋ครบโหล (3) ปีที่สาม ตะลุยเขาวงกต เรารู้ว่ามีปัญหา แต่มักจะไม่รู้ว่ามันอยู่ที่ไหน? เมื่อไม่รู้จุดที่ต้องแก้ แล้วจะแก้กันยังไง? ถึงแม้สถานการณ์จะดีขึ้น เราพอประคองตัวให้มีสมดุลกระแสเงินสดได้โดยที่ทุกคนได้รับค่าแรง (รวมทั้งตัวผม) แต่ยังไม่มีสิ่งที่เรียกว่า ‘กำไร’ เรายังอยู่รอดไม่ได้หากไม่มีกำไร
โก๋ครบโหล (4.1) ปีที่สี่ โก๋รีแบรนด์ และกำเนิดปรีดา (ตอน 1) จุดหักเลี้ยวที่สำคัญที่สุดของเราคือปีนี้ ..ปีที่เราเลี้ยวมาถูกทาง บ้านสะท้อนคนอยู่ เสื้อผ้าสะท้อนคนใส่ ถ้อยวาจาสะท้อนจิตใจ รูปธรรมทั้งหลายใช่หรือไม่ก็เป็นไปตามจิตที่นึกคิดและสั่งการให้ปรุงแต่ง ...ธุรกิจก็เช่นกัน
โก๋ครบโหล (4.2) โก๋รีแบรนด์และกำเนิดปรีดา (ตอน 2) แม้เครื่องคั่วตัวนี้จะทำกันขึ้นมาเอง แต่ผลงานที่ออกมาก็สร้างความสุขให้เรามากทีเดียว...สารกาแฟจากดอยช้างที่ได้มาทดลองให้กลิ่นที่หอม สด ใหม่ ในขณะที่รสชาติก็อยู่ในระดับที่ไม่ด้อยไปกว่าของเดิม พูดกันในแง่ของรสชาติ ผมรู้สึกว่าของเรามีภาษีดีกว่านิดหน่อยซึ่งหากค่อยๆปรับปรุงไปก็ยังจะสามารถทำให้ดีกว่านี้ได้อีก แต่ในด้านของความรู้สึกสดใหม่...เรามั่นใจได้เลยว่าของเราเหนือกว่า เพราะเมื่อคั่วเอง ก็ควบคุมความสดได้เอง...หากคั่วให้ใช้ได้พอดีอาทิตย์ต่ออาทิตย์ เราก็ย่อมได้กาแฟที่ใหม่เสมอ ในที่สุด..พฤศจิกายน 2549 เราก็สามารถส่งกาแฟหม้อแรกออกเป็นสินค้าจากโรงคั่วในห้องครัวออกมาขายให้แก่ร้านโก๋กาแฟได้ หลังจากทดลองคั่วเปรียบเทียบอยู่เกือบสองเดือน เราตั้งชื่อกิจการใหม่ว่า “ปรีดา” ด้วยต้องการให้สื่อถึง “ความสุข” ที่เกิดจากการได้ทานกาแฟดีๆ
โก๋ครบโหล (5) ปีที่ห้า สร้างรหัสพันธุกรรม เมื่อมีคนทำงานมากขึ้น เราก็จำเป็นต้องมีระบบงานเพื่อเป็นตัวช่วยกำกับให้งานเดินหน้าได้ราบรื่น ปัญหาใหญ่ของร้านกาแฟเล็กๆ ก็คือการลาออกที่มีอยู่เป็นประจำ เด็กใหม่เข้ามาก็ต้องสอนงานกันใหม่ กว่าจะเป็นงานก็หลายเดือน พอเริ่มเข้าที่ก็ลาออกไปหางานใหม่ซะแล้ว หลังจากนั้นก็หาคนเข้ามาทดแทน บางทีได้คนที่ไม่เหมาะกับงานบริการก็จะมีปัญหากับงานกับลูกค้า คนใหม่บางคนอยู่ร่วมกับคนอื่นๆได้ยาก นิสัยใจคอก็เป็นเรื่องสำคัญ ...ซึ่งนิสัยจริงๆจะเป็นอย่างไรก็มักจะเห็นกันหลังผ่านทดลองงานไปแล้วนั่นแหละ ระบบงาน..ที่จริงยังไม่สำคัญเท่ากับ ‘ระบบคน’
โก๋ครบโหล (6) ปีที่หก Red Ocean เราผ่านสถานการณ์ที่มีการแข่งขันในตลาดสูงมาก ที่ศัพท์การตลาดเรียกกันว่า ‘น่านน้ำสีแดง’ หรือ Red Oceanในปีนั้นมาได้ด้วยการปรับตัวด้านมาตรฐานของงานผลิตให้ดีขึ้น แต่ส่วนมิติอื่นๆเช่น งานบริการ หรือบรรยากาศของสถานที่ก็ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก โก๋ยังเป็นร้านไม่ติดแอร์ มีสปริงเกอร์ฉีดฝอยน้ำให้ความชุ่มฉ่ำยามบ่ายทุกวัน เสียงเด็กๆทำงานประสานกับเสียงดนตรีป๊อบบ้าง แจ๊สบ้าง ช่วยทำให้วันเวลาไม่ร้อนแล้งจนเกินไป กลับมาทบทวนอีกครั้ง...ผมว่าที่จริงเราไม่ได้แข่งขันกับใครเลย...นอกจากตัวเราเอง
โก๋ครบโหล (7) ปีที่เจ็ด อำลาสวนดอก งานเลี้ยงยังมีวันเลิกรา ...มันเป็นธรรมดาของการร่วมทาง ชีวิตการทำร้านกาแฟ ไม่ได้เหมือนอย่างในหนังสือพ็อคเก็ตบุคที่วางขายกันตามร้าน ทำนองว่ามีไร่กาแฟ รอยยิ้ม กลิ่นหอมๆ ขนมหวาน เพลงแจ๊ซ ฯลฯ แต่มันยังอาจจะมีเสียงบ่น คนนินทา หรือกระทั่ง คราบน้ำตา เป็นฉากหลังร้านอยู่ก็ได้
โก๋ครบโหล (8) ปีที่แปด ห้องรับแขก ร้านใหม่ของเราหน้าตาเหมือนบ้านไทยเก่าๆ มีเสาไม้ ผนังไม้พร้อมฝาไหล หรือผนังไม้กลที่เลื่อนปิดเปิดได้อันเป็นสไตล์ดั้งเดิมของบ้านล้านนา กำแพงประกอบด้วยหน้าต่างเกล็ดไม้บานเล็กๆวางอยู่เป็นระยะทำให้ไม่รู้สึกทึบตัน เราเพิ่มต้นไม้ใหญ่เข้าไปหลายต้น ทั้งอินทนิลน้ำ แก้วพิกุล หมากเขียว ช่วยให้ร่มเงาครอบคลุมพื้นที่ด้านนอกอาคาร แต่ด้วยความที่เพิ่งปลูกเราคงต้องรออีกสักพักใหญ่ๆกว่าต้นไม้จะให้ร่มอย่างที่หวัง บ่อปลาตื้นๆทรงแคบทอดตัวเลียบแนวชายคาทำให้บริเวณด้านในมีสภาพคล้ายเกาะที่ได้รับความชุ่มชื่นจากละอองน้ำอยู่ตลอดเวลา คนกับปลาได้อยู่ใกล้ชิดกันเป็นพิเศษ พื้นในอาคารเป็นพื้นปูนขัดมันง่ายๆ ส่วนพื้นด้านนอกปูด้วยอิฐมอญก้อนใหญ่ที่สามารถเก็บความชุ่มชื้นไว้ได้ดีกว่าพื้นปูน ทิศการวางตัวของร้านเป็นไปในแนว เหนือ-ใต้ ลมจึงสามารถเคลื่อนผ่านเข้าออกได้สะดวก โก๋ใหม่มี่พื้นที่ใช้สอยใกล้เคียงกับร้านเดิม แต่ทำงานสะดวกกว่า การวางตำแหน่งโซนผลิตให้อยู่เป็นจุดศูนย์กลางร้าน ทำให้ทั้งคนขายและลูกค้าได้อยู่ใกล้กัน ช่วยให้ได้ทั้งความรู้สึกอบอุ่นและประหยัดแรงในการเดินไปบริการตามโต๊ะ การดูแลก็ทำได้ทั่วถึงมากกว่า
โก๋ครบโหล (9) ปีที่เก้า กระบวนท่าเดียวหนึ่งหมื่นครั้ง คือผมค้นพบว่าชีวิตผมดีขึ้นเพราะเป้าหมายของผมเล็กลง จากความคาดหวังที่จะเป็นร้านกาแฟที่ยิ่งใหญ่มีสาขาเป็นสิบเป็นร้อยเปลี่ยนมาเป็นสนใจเพียงแค่ทำหน้าที่ของการเป็นร้านกาแฟที่ให้ความสุขสบายใจแก่ทุกคน ทั้งลูกค้าและคนร่วมงาน เราเลิกวางเป้าหมายเป็นยอดขาย แต่สนใจแค่ว่าเราจะทำกาแฟออกมาได้ดีหรือไม่? เราจะดูแลคนที่เข้ามาหาเราอย่างดีที่สุดในแบบของเราได้อย่างไร? เราเลิกพยายามที่จะแตกต่าง แต่พยายามเป็นตัวของตัวเองให้ได้จริงๆ
โก๋ครบโหล (10) ปีที่สิบ ธรรมดาเป็นพิเศษ สิบปี ..เป็นวาระอันควรเฉลิมฉลองอย่างยิ่ง กว่าธุรกิจหนึ่งจะผ่าน 2 ปี ...5 ปี ...8 ปี มาจนถึงปีที่ 10 ได้นั้น เป็นเรื่องไม่ง่ายจริงๆ เพราะทุกหลักไมล์เหล่านั้นต้องแลกมาด้วยหยาดเหงื่อและน้ำตามิใช่น้อย ผมนั่งทบทวนเรื่องราวกว่าทศวรรษอยู่เงียบๆเป็นอาทิตย์ สิบปี ..เราจะคุยกับผู้คนว่าอะไร? “ธรรมดาเป็นพิเศษ” คือคำที่วาบขึ้นมาในสมอง! นี่คือประโยคที่เราจะบอกกับลูกค้า ญาติ และสหายทั้งหลายว่า “เราเป็นร้านที่สนใจในความ ‘ธรรมดา’ เป็นพิเศษ” เราถนัดที่จะเป็นคนธรรมดา และมีความสุขที่เป็นแบบนี้ ปีนี้จึงเป็นปีที่โก๋กาแฟประกาศคำว่า “ธรรมดาเป็นพิเศษ” ออกมา ซึ่งสำหรับผมแล้ว มันคือจุดเคลื่อนที่สำคัญที่สุดของแบรนด์ท้องถิ่นแบรนด์นี้ ...มันคือการค้นพบตัวตนพร้อมๆกับค้นพบเป้าหมายในชีวิตของ “โก๋กาแฟ” เรามีความสุขกับการเป็นร้านธรรมดาในชีวิตประจำวันของผู้คน ใครก็มากินเรามาใช้เราได้อย่างสบายใจโดยไม่ต้องเขย่งเท้าดื่ม เราคือ “คนธรรมดา” ที่ชอบอะไรเรียบง่าย ซึ่งความเรียบง่ายนั้นมักจะสอดคล้องกับการลดทอนความประดิดประดอยทั้งหลายทั้งปวง หรือการ “ไม่ปรุงแต่ง” เมื่อไม่ปรุงก็ไม่วุ่นวาย เมื่อไม่วุ่นวายก็ไม่เดือดร้อน...จนเกิดเป็นความสุขขึ้นมา ความธรรมดานั่นแหละความสุข ความธรรมดานั่นเองที่เป็นหนทางไปสู่ความสุข ความธรรมดาจึงเป็นเป้าหมายที่เข้าถึงอย่างสมบูรณ์ได้ด้วยความธรรมดา
โก๋ครบโหล (12) ปีที่สิบสอง กลับบ้าน..สร้างโรงคั่วปรีดา สำหรับผม… โรงคั่วกาแฟปรีดานี้ไม่เพียงแต่เป็นที่ทำงานเท่านั้น หากยังเป็นเส้นชัยชีวิตอีกหนึ่งเส้น เพราะมันสร้างความสุขให้กับคนในครอบครัวของเรา ทุกคนต่างชื่นชมยินดีที่ได้เห็นเราเติบโตขึ้น อู่ยนต์สุวรรณที่เคยคึกคักด้วยผู้คนเมื่อสมัยที่พ่อยังมีชีวิตแทบจะกลายเป็นที่ร้างว่างเปล่ามาสิบกว่าปี บัดนี้มันได้กลับมาเกิดใหม่ในรูปของโรงคั่วกาแฟ แม่ของผมได้กลับมาที่แห่งนี้อีกครั้งในฐานะประธานเปิดอาคารเมื่อ 12 สิงหาคม 2558 รอยยิ้มของแม่ พี่น้องลูกหลานและแขกเหรื่อในวันนั้นคือรางวัลชีวิตของเราอย่างแท้จริง ส่วนทางครอบครัวของปุ๊กเองก็มีความรู้สึกไม่ต่างกัน ทั้งพ่อแม่และญาติๆของเธอต่างก็ภูมิใจกับผลงานชิ้นนี้
โก๋ครบโหล (13) ปีที่ 13 การกลับมาของเต่า โครงการใหญ่วิ่งเข้ามาหาพวกเราในบ่ายวันหนึ่ง เมื่อเพื่อนเก่าของผมมาชวนให้ทำกาแฟส่งออกไปขายที่เมืองจีน!
โก๋ครบโหล (14 ) ปีที่ 14 ท่านรู้ได้อย่างไรว่ามันเป็นโชคร้าย? ผมและปุ๊กเริ่มไม่สนุกกับการทำร้านกาแฟเสียแล้ว!
มีหลายคนตั้งคำถามกับผมว่า ร้านโก๋จะพัฒนาไปยังไงอีก? เพราะเมื่อไม่คิดขยายสาขา งานก็คงจะวนเวียนอยู่แค่ในร้านๆเดิม จะปรับปรุงสถานที่หรือจะเปลี่ยนเมนูไปเรื่อยๆเท่านั้นหรือ? บอกตรงๆ...ผมเองก็เคยคิดว่าแค่นั้นแหละ แต่เมื่อกลับมาอ่านเรื่องที่เขียนไล่เรียงมาตั้งแต่ปีแรกจนถึงปีนี้ ผมก็ได้เห็นว่าสิ่งสำคัญที่โก๋มีความก้าวหน้ามาโดยลำดับก็คือ “ความรู้และความคิด” เรายังปรับใช้สิ่งเหล่านี้เข้ากับบริบทโดยรอบจนเกิด “ประโยชน์ใหม่” ที่กว้างกว่าแค่การให้บริการกาแฟในทำเลที่ตั้ง ‘คุณค่า’ จึงเชื่อมโยงโดยตรงกับ ‘ประโยชน์’ เราเป็นแบรนด์เล็กๆที่ยังคงสามารถสร้างผลงานเชิงคุณภาพที่สูงขึ้นได้อย่างสม่ำเสมอ โดยประกาศตัวเองชัดเจนไว้เลยว่า “จะไม่ขยายสาขาหรือเปิดแฟรนไชส์” เรายังคงรักจะเป็น Sme ท้องถิ่น เพราะเชื่อว่านี่คือโมเดลของโลกธุรกิจในอนาคตที่ยั่งยืนและเป็นคำตอบของปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมทั้งมวล ...ลูกหลานบ้านไหนก็ควรได้ทำงานแถวๆบ้านนั้น ไม่ใช่ไปขายแรงงานต่างเมืองต่างประเทศ!
2561 – 2562 เป็นปีที่สนุกอย่างดุเดือดจริงๆ! โดยเฉพาะงานเร่งสร้างห้อง LAB LTLH ขึ้นภายใน 20 วันเพื่อทำการพิสูจน์ว่าเราสามารถตากกาแฟในห้องได้
จุดยืนในการทำกาแฟของคุณคืออะไร? บางทีคุณอาจไม่เคยคิดถึงมัน...จนกว่าจะเดินมาถึงทางแยกสำคัญ ---
เคยมีคนถามว่าไม่ท้อหรือที่ร้านเกือบเจ๊ง ทนทำอยู่ได้ยังไงตั้งหลายปีกว่าที่ร้านจะเริ่มจะมีกำไร ไม่ขาดทุน? ตอบตามตรงว่า ท้อครับ แต่ที่ยังทนสู้ต่อก็เพราะว่าเดิมพันมันสูง
เมื่อสามปีก่อน ผมได้สัมภาษณ์ชายคนหนึ่งที่ตกงานมากว่าสองปีเพราะเรียนจบมาด้วยเกรดธรรมดา บุคลิกไม่น่าสนใจฯลฯ ..สภาพของเด็กที่รู้สึกว่าตัวเองไม่เป็นที่ต้องการนั้นสะท้อนชัดออกมาผ่านแววตาของเขา
OTA หรือ Ochratoxin A เป็นสารก่อมะเร็ง (genotoxic carcinogen) เหมือนอย่าง Aflatoxin ที่สามารถเกิดจากราสองสามชนิดได้แก่ Aspergillus และ Pennicillium ซึ่งในกระบวนการผลิตกาแฟตั้งแต่ช่วงปลูก เก็บเกี่ยว แปรรูป ไปจนถึงการเก็บรักษาล้วนแต่สามารถเกิดการปนเปื้อนราเหล่านี้ได้ทั้งสิ้น เมื่อราเจริญขึ้นก็จะผลิตสาร OTA ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกายและทนความร้อนสูงในระหว่างการคั่วกาแฟได้ (การคั่วกาแฟอยู่ที่ระดับ 200-228°C แต่ OTA สลายตัวที่ 260°C) หมายความว่าเราไม่สามารถสลายสารพิษที่ราสร้างขึ้นได้ ถึงแม้ว่าตัวเชื้อราจะตายไปแล้วแต่สารเคมีที่มันสร้างเอาไว้จะยังคงอยู่ในกาแฟต่อไป ยังไม่ต้องพูดถึงกลิ่นรสของกาแฟที่เสียไปเพราะราเหล่านี้